สำหรับหลังเลนส์ โพสต์ปฐมฤกษ์วันนี้จะขอแนะนำคนที่อยากทำหนังแต่ไม่รู้ว่าต้องเอาใครมาทำหน้าที่อะไร จะจิกหัวใช้ใครได้บ้าง วันนี้เราจะมาดูกันว่ากว่าจะเป็นหนัง 1 เรื่อง เขามีใครทำอะไรกันบ้าง งานนี้จำแนกมาเป็นแผนกให้แล้วตามนี้เลย
ทีมบริหารจัดการ
- โปรดิวเซอร์ (Producer) หน้าที่หลักคือการหาทีมงานและบริหารงบประมาณ
- ผู้จัดการกองถ่ายหรือ PM (Production Manager) PM จะทำหน้าที่ในการดูแลอำนวยความสะดวกให้งานถ่ายทำราบรื่นที่สุด
- ผู้จัดการสถานที่ถ่ายทำ (Location Manager) คอยจัดหาสถานที่ให้ทีมงานถ่ายทำ รวมถึงดูแลความเรียบร้อยในวันถ่ายทำทุกอย่าง
- บัญชีกองถ่าย (Accountant) หน้าที่หลักคือเป็นกระเป๋าเงินทั้งเวลาออกกองและคอยเตือนสติเรื่องงบประมาณที่กำลังบานปลาย
ทีมกำกับ
- ผู้กำกับ (Director) คอยตัดสินใจและกำกับองค์ประกอบทุกอย่างของหนัง
- ผู้ช่วยผู้กำกับ (Assistant Director) คอยช่วยเหลือผู้กำกับทุกอย่างและควบคุมเวลาในการถ่ายทำ
- ผู้ฝึกสอนการแสดง (Acting Coach) ช่วยผู้กำกับในการทำความเข้าใจและสร้างอารมณ์ร่วมกับนักแสดง
- ผู้กำกับบท (Script Supervisor) หน้าที่นี้ไม่เพียงควบคุมความต่อเนื่องของภาพยนตร์แต่ละช็อตเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นตาให้คนตัดต่อ เพราะต้องคุมทั้งเวลาและการเคลื่อนที่เพื่อให้ภาพที่ถ่ายมาสามารถตัดต่อได้อย่างต่อเนื่อง
- คนตีสเลท (Slate or Clapperboard Operator) เขียนเลขซีน ช็อตและเทคบนสเลทที่กำลังจะถ่าย และขานข้อมูลดังกล่าวก่อนผู้ช่วยผู้กำกับจะสั่งแอ็คชั่นเพื่อเริ่มถ่ายทำต่อไป
ทีมถ่ายภาพ
- ผู้กำกับภาพ (Director of Photography) ออกแบบและควบคุมกล้องให้ภาพตอบโจทย์จินตนาการผู้กำกับที่สุด
- ผู้ช่วยกล้อง (Camera Assistant) ตั้งกล้อง เปลี่ยนเลนส์ เปลี่ยนการ์ด (สมัยก่อนต้องคอยเปลี่ยนฟิล์ม)ให้ผู้กำกับภาพพร้อมใช้งาน
- คนหมุนโฟกัส (Focus Puller) หน้าที่คือคำนวณระยะภาพและหมุนโฟกัสตามการเคลื่อนกล้องให้จุดสนใจยังอยู่ในโฟกัส
- คนจัดการข้อมูล ณ.กองถ่ายหรือ DIT. (digital imaging technician) นำไฟล์จากการ์ดลงเครื่องพร้อมคัดแยกฟุตเตจที่ได้จากเอกสารรายงานการถ่ายภาพหรือ Camera Report เป็นเกณฑ์
- คนคุมอุปกรณ์ (Key Grip) คอยทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ทั้งก่อนนำมาถ่ายทำและการเก็บอุปกรณ์หลังถ่ายทำ
ฝ่ายศิลปกรรม
- นักออกแบบงานสร้าง (Production Designer) ออกแบบโลกที่ตัวละครอาศัยอยู่ให้สมจริงและสร้างความอัศจรรย์ใจให้ผู้ชม
- พรอปมาสเตอร์ (Prop Master) คอยจัดหาของประกอบฉากให้ทางนักออกแบบงานสร้าง แต่ในบางกรณีก็ต้องประดิษฐ์เองด้วย
ทีมแสง
แกฟเฟอร์ หรือคนกำกับแสง (Gaffer) ออกแบบจัดวางแสงโดยจะทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพมากที่สุด เพราะไฟที่ใช้จัดแสงจะต้องประสานการทำงานกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์
ทีมเสื้อผ้าหน้าผม
ทีมเสื้อผ้าหน้าผม
- นักออกแบบเครื่องแต่งกาย (Costume or Wardrobe Designer) ออกแบบหรือจัดหาเสื้อผ้าให้เหมาะกับเรื่องราว
- ช่างแต่งหน้า (Make up Artist) แต่งหน้านักแสดงให้เข้ากับบทบาท
- ช่างแต่งหน้าเอฟเฟกต์ (Special Effect Make Up Artist)แต่งหน้าเอฟเฟกต์ตั้งแต่พื้นๆอย่างรอยแผลฟกช้ำ ไปจนถึงแต่งคนให้เป็นสัตว์ประหลาด
- นักออกแบบทรงผม (Hair Stylist) ออกแบบและตัดแต่งทรงผมนักแสดงให้เข้ากับบุคลิกตัวละคร
ทีมเสียง
- ผู้บันทึกเสียงและมิกซ์เสียง (Sound Mixer / Sound Recordist) ในตำแหน่งนี้แล้วแต่ลักษณะอุปกรณ์ เพราะหากเป็นกองถ่ายใหญ่ระบบการบันทึกจะผ่านเครื่องมิกซ์เสียง โดยหน้าที่คือฟังและตรวจสอบให้บทสนทนาในบทหนังพูดออกมาชัดเจนและครับถ้วน รวมถึงไม่ให้มีเสียงรบกวน
- คนถือไมค์บูมและคนคุมอุปกรณ์เก็บเสียง (Boom Operator and Sound Utility) เริ่มจากคนถือไมค์บูมที่ต้องเก็บเสียงด้วยการถือขาไมค์ให้พ้นจากเฟรมภาพ ส่วนคนคุมอุปกรณ์เสียง นอกจากต้องใช้อุปกรณ์เก็บเสียงให้ถูกกับงานแล้วยังต้องรู้จักตำแหน่งที่สามารถวางไมโครโฟนให้พ้นกล้อง รวมถึงการติดตั้งไมโครโฟนไร้สายกับตัวนักแสดงให้มิดชิดและเก็บเสียงได้ชัดเจนอีกด้วย
- นักออกแบบเสียง (Sound Designer) หน้าที่นี้คือออกแบบการเล่าเรื่องด้วยเสียงต่างๆในภาพยนตร์ โดยเป็นเสียงที่ไม่สามารถอัดในขณะถ่ายทำได้ ซึ่งต้องอาศัยการสร้างขึ้นในสตูดิโอและผ่านกระบวนการทางเทคนิคเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่สมบูรณ์แบบ
- โฟลีย์ อาร์ทิสต์ (Foley Artist) เปรียบได้ดั่งนักดนตรี แต่เป็นการนำอุปกรณ์มาสร้างเสียงเอฟเฟกต์ให้ภาพยนตร์
แผนกตัดต่อและทำสี
- นักตัดต่อ (Editor) ตัดต่อฟุตเตจต่างๆ ตามบทหนังและเอกสารจากกองถ่าย
- คนทำสีภาพ (Colorist) ควบคุมและปรับแต่งสีฟุตเตจภาพที่ถ่ายทุกช็อตให้ออกมาตามจินตนาการและภาพอ้างอิงที่ผู้กำกับจินตนาการไว้
จัดหานักแสดง
ผู้กำกับการคัดเลือกนักแสดง (Casting Director) ทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดงโดยให้ใกล้เคียงบทบาทที่สุดเป็นตัวเลือกให้ผู้กำกับ
เบื้องหลัง
ตากล้องเบื้องหลัง (Behind the scene photographer and videographer) บันทึกภาพเบื้องหลังการถ่ายทำเพื่อนำมาใช้โปรโมตหนังและยังสามารถเป็นหลักฐานกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่จะเป็นข้อพิพาทต่อไป
แผนกบริการทั่วไป
- จัดการอาหารกองถ่าย (Caterer) เรียกได้ว่าทีมงานต้องฝากท้องไว้ที่แผนกนี้เลยทีเดียว
- ขนส่งทีมงานและของ (Logistic) เป็นแผนกที่จัดสรรยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกในกองถ่าย โดยส่วนใหญ่ในเมืองไทยจะจ้างรถสำหรับขนส่งอุปกรณ์และทีมงาน
ผมอยากทราบทีมงานของพจน์อานนมากกว่า ไม่รุ้กำกับหนังไปได้ยังไง
ตอบลบขนาดเด็กอนุบาล ยังกำกับได้ดีกว่าเลย
กำกับหนังกระโดดไปมา ไม่มีที่มาที่ไป อยากให้อะไรเกิด ก็เกิดเลย แบบงงๆ เหมือนหลอกเอาเงินคนดู อาศัยให้นักแสดงดังๆ มาแสดงเพื่อดึงดูดหนัง 555
ไม่มีไอของหนัง ที่ได้เงินเพราะฟรุ๊ก
ลบคุณครับกองของพจน์อานนท์ เป็นทีมงานมีระดับมากเลยนะ ทั้งกล้อง แสง บลาๆ เหี้ยที่บทล้วนๆ 555
ลบมีอีกทีมค่ะ Craft service คอยดูแล้วเรื่องน้ำดื่มในกอง จะแยกกับทีมอาหาร
ตอบลบแล้วart directorละมีแต่PD
ตอบลบอยู่มอหก แล้วยังไม่รู้จะเรียนอะไรเลย
ตอบลบแต่ชอบดูหนังมาก ถ้าจะเรียนเป็นผู้กำกับ ควรเรียนอะไรดีคับ น่าสนุกดี
ลองคณะนิเทศดูมั้ย
ลบ